“เก้าอี้สำนักงาน” หลายๆอาจคนมองข้าม และที่ไม่รู้คือที่มาของปัญหาสุขภาพได้ โดยที่เก้าอี้ทำงานไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย เป็นต้นเหตุแก่โรคภัยอีกหลายๆ ดังนั้นแล้ว การเลือกเก้าอี้จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก บทความนี้จะให้ความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้เก้าอี้สำนักงานมากขึ้น 1. ต้องลดแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง ในการศึกษาพบว่าหากให้พนักพิงมีมุมเอนระหว่าง 100-130 องศา แรงดันที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังจะน้อยที่สุด ดังนั้นการออกแบบที่ช่วยลดแรงกดที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังจะช่วยรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังไม่ให้รับน้ำหนักมากเกินไป ทำได้จากการออกแบบให้พนักพิงให้มีลักษณะเป็นมุมเอนกับแนวระนาบ จากการวัดค่าแรงดันที่กระทำกับหมอนรองกระดูกสันหลัง นอกจากการให้พนักพิงทำมุมเอนกับแนวระนาบแล้ว การเพิ่มที่พักวางแขนก็ช่วยลดแรงกดที่กระทำต่อหนอนรองกระดูกสันหลังด้วย 2. สามารถปรับเปลี่ยนอริยบทการนั่งได้ ในการทำงานไม่ควรจำกัดท่านั่งในท่าเดิมอยู่ตลอดเวลา เพราะการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานๆจะทำให้หมอนรองกระดุกสันหลังเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากความสามารถหมุนเวียนสารอาหารและของเสียของร่างกายได้ลดน้อยลง นอกจากนั้นยังมีส่วนให้เกิดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังและหัวไหล่ได้ และทำให้เลือดไหลสู่ส่วนขาและเท้าไม่สะดวกส่งผลทำให้เกิดอาการเหน็บชา ดังนั้นเก้าอี้ที่ดีควรมีลักษณะที่สามารถเคลื่อนไหวหรือปรับเปลี่ยนอริยบทการนั่งได้ ดังนั้นการออกแบบเก้าอี้จึงควรมีขนาดที่ไม่แคบจนเกิดไปจนมีลักษณะที่บีบหรือเป็นซองแคบ นอกจากนี้อาจออกแบบให้มีลักษณะที่สามารถหมุน โยก หรือ ปรับเอนได้ก็จะเป็นการช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนอริยบทการนั่งได้สะดวกและง่ายขึ้น 3. ช่วยทำให้กระดูกสันหลังโค้งแบบลัมบาร์ลอร์โดซิส การออกแบบดังกล่าวจะช่วยให้มีแรงเค้นกดเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูกสันหลังช่วงลัมบาร์มีปริมาณน้อยคล้ายกับลักษณะของกระดูกสันหลังในท่ายืนตรงตามมาตรฐานของกายวิภาคนั่นเอง ลักษณะดังกล่าวอาจทำได้โดยการเสริมพนักพิงให้มีลักษณะโค้งรับกับกระดูกสันหลัง 4. มุมลาดเอียงแผ่นรองนั่งกับพนักพิงที่เหมาะสม ความลาดเอียงของแผ่นรองนั่งกับพนักพิงเก้าอี้ควรสัมพันธ์กัน ทั่วไปแล้วเก้าอี้ทำงานหรือเก้าอี้รับประทานอาหารควรมีลาดเอียงประมาณ 93-105 องศากับแนวระนาบ โดยให้แผ่นรองนั่งลาดเอียงจากแนวระนาบประมาณ 0-8 องศา ด้วย การลาดเอียงดังกล่าวเป็นมุมที่เหมาะสมในการนั่ง เพราะจะช่วยให้สะโพกและแผ่นหลังแนบกับแนวเก้าอี้จึงมีช่วยในการกระจายน้ำหนักสู่เก้าอี้ได้ดี นอกจากนั้นยังเป็นมุมที่เหมาะสมสำหรับการโน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อทำงานหรือตักอาหาร หากมุมลาดเอียงมากหรือน้อยกว่านี้ จะทำให้การโน้มตัวไปข้างหน้าต้องใช้ระยะมากเกิน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัวได้หรือเกร่งตัวได้ เป็นสาเหตุของอาการเมื่อยล้า สำหรับเก้าอี้เพื่อการพักผ่อนควรมีมุมลาดเอียงของแผ่นรองนั่งกับพนักพิงประมาณ 110-115…